เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2560 นำโดย รศ.ดร.ประจักรบัวผันประธานหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารสาธารณสุข พร้อมด้วยคณาจารย์และนักศึกษาเข้าศึกษาดูงานด้านสาธารณสุข ณ มหาวิทยาลัย Leeds ประเทศสหราชอาณาจักร
ข่าวโดย : ศุภานัน พรมขอนยาง
เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2560 นำโดย รศ.ดร.ชัญญา อภิปาลกุล พร้อมด้วยคณาจารย์และนักศึกษาปริญญาโท ศิษย์เก่าและศิษย์ปัจจุบัน สาขาการบริหารสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ ร่วมเป็นเจ้าภาพทอดผ้าป่าสามัคคีมหากุศล เพื่อทำนุบำรุงพุทธสถาน ทอดถวาย ณ วัดพุทธาราม ลีดส์ สหราชอาณาจักร รวมปัจจัยที่นำไปถวายวัด เป็นเงินจำนวนทั้งสิ้น 136,853 บาท (หนึ่งแสนสามหมื่นหกพันแปดร้อยห้าสิบสามบาทถ้วน)
ข่าวโดย : ศุภานัน พรมขอนยาง
วันที่ 1 มี.ค. 2560 เวลา 15.00 น. คณาจารย์และบุคลากร คณะสาธารณสุขศาสตร์ ร่วมกันออกกำลังกายเต้นแอโรบิค ในโครงการ “พุธบ่ายกายเคลื่อนไหว” โดยได้ดำเนินการจัดโครงการในทุกวันพุธของสัปดาห์ เวลา 15.00-16.30 น. ณ ลานชมพู คณะสาธารณสุขศาสตร์ ตลอดปีงบประมาณ 2560 นี้ เพื่อเป็นการสนองนโยบายของรัฐบาลฯ ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีกิจกรรมออกกำลังกายร่วมกันเพื่อให้คณาจารย์และบุคลากร มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง และมีจิตใจเข้มแข็ง ใส่ใจสุขภาพ และสร้างบุคลิกภาพที่ดีให้กับบุคลากรในองค์กร
ภาพ/ข่าว โดย : นายเอกฤทธิ์ ปทุมพร,นายศรศักดิ์ อุระ
วันที่ 24 ก.พ. 2560 โดย รองคณบดีฝ่ายบริหารและสื่อสารองค์กร รศ.กาญจนา นาถะพินธุ ให้เกียรติเป็นประธานในการประชุมคณะกรรมการดำเนินงานประชาสัมพันธ์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ โดยให้นโยบายการการบริหารจัดการงานประชาสัมพันธ์ข่าวสารของคณะฯ ให้เป็นไปด้วยความรวดเร็ว ทันสมัย มีรูปแบบที่สวยงาม และ Update ทันต่อเหตุการณ์ปัจจุบัน และในการประชุมครั้งนี้ โดยมี หัวหน้าสำนักงานคณดี นายอณัชปกร สาระรัตน์ เป็นประธานกรรมการประชาสัมพันธ์คณะฯ ซึ่งได้ให้ข้อแนะนำและแนวทางปฏิบัติการดำเนินงานของคณะกรรมการฯ โดยมุ่งเน้นการทำงานที่เป็นเครือข่าย เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการประชาสัมพันธ์ข่าวสารทั้งภายในและภายนอกคณะฯอย่างสูงสุด
ภาพกิจกรรม
ภาพ/ข่าวโดย : นายเอกฤทธิ์ ปทุมพร, นายศรศักดิ์ อุระ
เมื่อวันที่ 9-13 มกราคม 2560 ศูนย์จัดการข้อมูลและวิเคราะห์ทางสถิติ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ส่งทีมเข้าร่วมโครงการ KKU mHealth Bootcamp and Hackathon เพื่อแข่งขันการสร้างนวัตกรรมการแก้ปัญหาทางสุขภาพ และสามารถคว้ารางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 มาได้ โดยมี ผศ.ดร.เด่นพงษ์ สุดภักดี รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการและสื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นประธานมอบรางวัล ณ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยขอนแก่น
โครงการ KKU mHealth Bootcamp and Hackathon ภายใต้แนวคิด “Bringing together innovators to co-create digital solutions for health issues in Thailand” จัดขึ้นตั้งแต่วันที่ 9 มกราคม 2560 ที่ผ่านมา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ และเกิดความร่วมมือระหว่างบุคลากรทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ กับนักศึกษาจากสาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ และคณะวิชาอื่น ๆ เพื่อใช้ประโยชน์จาก mobile technology ในการแก้ปัญหาทางสุขภาพหรือปัญหาด้านสาธารณสุข อันจะนำไปสู่การยกระดับสุขภาพองค์รวม ที่ทันสมัยและเหมาะสมกับวิถีการใช้ชีวิตของผู้คนในปัจจุบัน
ข่าวโดย : Janjira Karnganhar ภาพโดย : DAMASAC
พิธีลงนามความร่วมมือทางวิชาการ (Memorandum of Understanding: MOU) ระหว่างมหาวิทยาลัยขอนแก่น กับหน่วยงานโรงพยาบาลกว่า 5 แห่ง ทั่วภาคอีสานนำร่องคัดกรองประชากรกลุ่มเสี่ยง เพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศทางการแพทย์ (Medical Informatics) เพื่อการป้องกันและชะลอโรคไตเรื้อรังในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
วันจันทร์ที่ 19 ธันวาคม 2559 ณ ห้องประชุมสิริคุณากร 3 ชั้น 2 อาคารสิริคุณากร สำนักอธิการบดี มหาวิทยาลัยขอนแก่น ศูนย์จัดการข้อมูลและวิเคราะห์ทางสถิติ (ธรรมศักดิ์) (Data Management and Statistical Analysis Center (DAMASAC)) คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น นำโดย รศ.ดร.บัณฑิต ถิ่นคำรพ (ผู้อำนวยการศูนย์ฯ) พร้อมทีมงาน เข้าร่วมในพิธีลงนามความร่วมมือทางวิชาการ (Memorandum of Understanding: MOU) ระหว่างมหาวิทยาลัยขอนแก่น กับหน่วยงานโรงพยาบาล เพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศทางการแพทย์ (Medical Informatics) เพื่อการป้องกันและชะลอโรคไตเรื้อรังในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
การร่วมลงนามข้อตกลง (MOU) ในครั้งนี้เกิดขึ้น ระหว่าง มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยศูนย์จัดการข้อมูลและวิเคราะห์ทางสถิติ (DAMASAC) และโครงการป้องกันและชะลอโรคไตเรื้อรังในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร่วมกับหน่วยงานโรงพยาบาล ได้แก่
1.โรงพยาบาลขอนแก่น 2.โรงพยาบาลร้อยเอ็ด 3.โรงพยาบาลชัยภูมิ 4.โรงพยาบาลโกสุมพิสัย
การร่วมมือดังกล่าว มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโปรแกรม ที่เรียกว่า ระบบสารสนเทศทางการแพทย์ โดยพัฒนาโปรแกรม ที่เรียกว่า “CKDNET Tools” สำหรับดำเนินงานป้องกัน และชะลอโรคไตเรื้อรัง ช่วยให้การดำเนินงานป้องกัน และคัดกรองโรคไตเรื้อรังเกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ โดยทำงานผ่านระบบอินเตอร์เน็ต ไม่เพิ่มภาระการใช้งานต่อผู้ปฏิบัติงาน และใช้ข้อมูลให้เกิดประโยชน์สูงสุดเพื่อพัฒนางานด้านการแพทย์และสาธารณสุข รวมถึงด้านบุคลากร การเรียนการสอนและงานวิจัยต่อไป
ภาพกิจกรรม
ภาพ/ข่าว โดย : weerawat sawatthaisong